อโรมาเทอร์ราปี Aromatherapy

ความหมายของคำว่า AROMATHERAPY

     Aromatherapy แปลว่า สุวคนธบำบัด (สุวคนธ์ = กลิ่นหอม) หมายถึงการนำกลิ่นหอมจากสมุนไพรมาใช้ในการดูแลรักษาสุขภาพ

     สมุนไพร หมายถึง พืช สัตว์ จุลชีพ ธาตุ วัตถุ สารสกัดดั้งเดิมจากพืชและสัตว์ ดังนั้น การนำกลิ่นของสมุนไพรมาใช้ดูแลรักษาสุขภาพ จึงหมายรวมถึง กลิ่นที่สกัดได้จากพืชและสัตว์ ซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่โบราณ ในปัจจุบันมนุษย์เริ่มต่อต้านการทำร้ายสัตว์ และลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ รวมถึงการลดการใช้สัตว์ทดลอง ทำให้พืชสมุนไพรมีบทบาทสำคัญในการใช้บำรุงรักษาสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ประวัติความเป็นมาโดยย่อของการใช้กลิ่นหอมในสมัยต่างๆ

     การใช้กลิ่นหอมได้เริ่มใช้มานานแล้ว โดยใช้ในรูปของธูปหอม น้ำหอม และเครื่องสำอาง ตัวอย่างเช่น การเผายางไม้ จูนิเฟอร์(Juniper) ในทิเบต และยางไม้แฟรงคินเซนสซ์(Frankincense) ในโบสถ์ขอโรมันคาทอลิค นอกจากนั้นยังพบการบันทึกเกี่ยวกับการใช้พืชเพื่อการเยียวยารักษาสุขภาพตั้งแต่ก่อนคริสตศักราช 2000 ปี เช่น

  • ในวรรณกรรมเวดิต ของอินเดีย (Vedic literature) มีบันทึกเกี่ยวกับพืชต่างๆถึง 100 ชนิด ตัวอย่างเช่น อบเชย(Cinnamon) ขิง(Ginger) ไมท์(Myrrh) ผักชี(Coriader) และจันทร์หอม(Sandal Wood)
  • ในคัมภีร์อายุรเวท (Ayurvedic system) ของอินเดียบันทึกการใช้พืชเพื่อการเยียวยารักษาสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การบูร(Camphor) ซึ่งมีการใช้มาจนถึงปัจจุบัน
  • ในจีน สมัยของ Yellow Emperor จนถึงสมัยของ Li-Ki and Tcheou-Li ได้บันทึกการใช้ฝิ่น(Opium) และขิง(Ginger) ในการรักษาไว้ในหนังสือ International Medicine
  • ในคัมภีร์ Papyrus ของอิยิปต์ มีการใช้น้ำมันหอม, น้ำหอม, ธูปหอมในโบสถ์ และใช้น้ำมัน(Oil), กัมส์(Gum) จากสนซีคาร์ และไมท์(Myrrh) ในขบวนการทำมัมมี่(Embalm)

     หลังจากนั้นก็มีการบันทึกเกี่ยวกับการใช้กลิ่นหอมจากธรรมชาติ ดังนี้

  • ก่อนคริสตศักราช 1240 ปี ในอิสราเอง สมัยของโมเสส ได้มีการใช้ กัมส์ และน้ำมัน เช่น Myrrh, Cinnamon, Calamus, Cassia and Olive Oil ในการทำน้ำมันนวด
  • ในตอนพระเยซูประสูติ มีการใช่ Frankincense
  • ในกรีกและโรมัน มีการนำเข้าน้ำมันและกัมส์ จากชาว Phienician, การบูร(Camphor) จากจีน, อบเชย(Cinnamon) จากอินเดีย, กัมส์(Gum) จากอาราเบีย และกุหลาบ(Rose) จากซีเรีย
  • ก่อนคริสตศักราช 500 ปี Herodatus และ Hippocrates ชาวกรีก ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องน้ำมันหอมระเหยและการใช้ธรรมชาติบำบัดให้ประเทศกรีก จากนั้น ก่อนคริสตศักราช 425 ปี Herodatus ได้บันทึกเกี่ยวกับการสกัด Terpentine ด้วยไอน้ำ จึงเป็นจุดเริ่มต้นเกี่ยวกับน้ำหอม, รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบในพืช และแหล่งที่มาของสารหอม
  • Hippocrates ซึ่งเป็นบิดาแห่งยาทางกายภาพบำบัด ใช้ ไมท์(Myrrh), อบเชย(Cinnamon) และคาเซีย(Cassoa) ผสมกันเป็น "Magaleion" (ต่อมาเรียกว่า "Megallus" ซึ่งความหมายเหมือนกับ "Kyph" ในอิยิปต์) ใช้เป็นน้ำหอม และสูตรสำเร็จสำหรับการลดอาการบวมอักเสบ ของผิวหนังและกล้ามเนื้อได้

          ส่วนในโรมันใช้น้ำหอม 3 ชนิด คือ Ladysmata, Stymmata and Diapasmata ในรูปของของแข็ง ของเหลว(Oil) และผงแป้ง ในการอบผม ร่างกาย เสื้อผ้า  ที่นอน และนวดตัวตอนหลังอาบน้ำ

  • จากนั้นได้มีการแปลหนังสือจากกรีกและโรมัน เป็น ภาษาเปอร์เซีย อราบิค และอื่นๆหลายภาษา ทำให้มีการเผยแพร่ความรู้ไปยังอาหรับและยุโรป ทำให้ในการอาหรับเกิดนักวิทยาศาสตร์มากมายในระหว่าง ศต.ที่ 7-13 ตัวอย่างเช่น Avicenna เขาได้รับรางวัลการเขียนมากกว่า 100 เล่ม ในการเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Rose และการสกัดกลิ่นหอม(Essential oil and Aromatic water)
  • ในคริสตศักราช ที่ 1975 Dr.Paolo Roverti ไปปากีสถาน พบเครื่องสกัดโดยใช้ Terracotta (ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องสกัดที่ดีที่สุดในสมัยนั้น) และพบเครื่องบรรจุน้ำหอมอายุราว 2000 ปี ที่ตักศิลา(Taxila) เชิงเขาหิมาลัย ทำให้รู้ว่ามีการผลิตและบรรจุสารหอม (Aromatic Oil) ในสมัยนั้นๆ
  • ในคริสตศักราชที่ 1975 นิยมใช้น้ำกุหลาบ(Rose Water) ในยุโรปและในยุคครูเสต(Crusades) และมีการสกัดกลิ่นหอมต่างๆโดยใช้ไอน้ำ
  • ใน ศต. ที่ 13 นิยมใช้น้ำหอมของ Arabia ในยุโรป และมีการนำ Aromatic plants และ Herbal bouquets มาใช้ในการป้องกัน กามโรค และโรคติดเชื้ออื่นๆ นอกจากนั้น ยังเริ่มนำความรู้ที่ได้มาศึกษาพืชพื้นบ้านของตนเอง เช่น ลาเวนเดอร์(Lavender) เสจ(Sage) และโรสแมรี่(Rosemary)
  • ใน ศต. ที่ 16 Lavender และน้ำมันหอมระเหยเป็นที่รู้จักเหมือน Chemical oil ทั่วไป สามารถหาซื้อได้จากร้านขายยา
  • ปีคริสตศักราช ที่ 1526 Grete Herball ได้ตีพิมพ์เรื่องการสกัด Volatile oil และเริ่มมีการใช้เครื่องสกัดที่ทำจากโลหะและทองคำเพื่อให้ได้กลิ่นที่เป็นธรรมชาติที่สุด
  • ยุค Renaissance มีการเขียนเรื่อง Aromatic Matetials ใน Pharmacopoeias โดยพูดถึงคุณสมบัติในการเป็นยาและการนำไปใช้ รวมทั้งมีการบันทีก Essential Oil ใหม่ๆที่ถูกวิเคราะห์โดยเภสัชกร และมีการผลิตกลิ่นต่างๆ เช่น จูนิเฟอร์(Juniper), โรสแมรี่(Rosemary), ลาเวนเดอร์(Lavender), เสจ(Sage), อาร์ทีมีเซีย(Artemesia), คาร์จูพุต(Cajuput), เชอร์วิล(Chervil), ดอกส้ม(Orange flower), วาเลอร์เรียน(Valerian) และ ไพน์(Pine) จากนั้นก็เกิด Perfimery และ Distillation Industries ในตอนเหนือของยุโรป
  • ต้น ศต. ที่ 19 เริ่มมีการศึกษาองค์ประกอบของน้ำมันหอมระเหย และตั้งชื่อ ตัวอย่าง เช่น Geraniol, Citronella และ Cineol โดยบันทึกไว้ในหนังสือ The Yearbook of pharmacy and Transections of British
  • กลาง ศต. ที่ 20 ได้มีการใช้น้ำมันหอมในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งในรูปน้ำหอม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวกับเท้า

 

 

อโรมาเทอร์ราปี (Aromatherapy)

     คำนี้ถูกใช้ครั้งแรก ในปี คริสตศักราช 1928 โดย Rene-Maurice Gattefosse นักเคมีชาวฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ในตระกูลที่ทำน้ำหอมมานาน เขาประสบอุบัติเหตุในห้องทดลอง ถูกไฟไหม้ที่แขน จึงใช้ Lavender oil รักษาแผลไฟไหม้โดยบังเอิญ ปรากฎว่าแผลที่เกิดจากไฟไหม้ตังกล่าว ไม่ติดเชื้อ จากนั้นจึงศึกษาค้นคว้าจนทราบว่า Essential Oil ที่ได้จากธรรมชาติ ใช้ได้ผลดีกว่าสารสังคราะห์ และได้ทำการศึกษาขยายผลไปยังน้ำมันหอมระเหยอื่นๆ

  • ปีคริสตศักราช 1904 Cuthbert Hall ได้แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติในการเป็น Antiseptic ของ Eucalyptus ในรูปของ Oil จากธรรมชาติ (Essential Oil) ได้ผลดีกว่าการดึงเฉพาะองค์ประกอบบางตัวใน Euclyptus เช่น Eucalyptol หรือ Cineol ออกมาใช้อย่างเดียว
  • ปีคริสตศักราช 1964 Dr.Jean Valnet ใช้ Essential oil ในการรักษาโรคเกี่ยวกับกายภาพหรือการทำงานของร่างกายบางส่วน ที่ผิดปกติ โดยได้พิมพ์เป็นหนังสือ Aromatherapy เล่มแรก และต่อมา Mardame Marquerite ได้ศึกษาและพัฒนาน้ำไปใช้ในการดูแลเรื่องความสวยงาม ทั้งทางภายนอกและภายใน
  • ปีคริสตศักราช 1977 Robert Tisserand ได้เขียนหนังสือ The Art of Aromatherapy ขึ้นมาอีก 1 เล่ม

       คำว่า Aromatherapy อาจถูกมองว่าเป็นการใช้กลิ่นในการรักษาผ่านทางอารมณ์ เพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริงแล้วในน้ำมันหอมระเหยแต่ละชนิด จะมีองค์ประกอบของสารสำคัญที่สามารถทำปฏิกิริยากับองค์ประกอบทางเคมีของร่างกาย มีผลต่อ อวัยวะต่างๆหรือระบบต่างๆทั้งหมดในร่างกาย โดย Mode of Essential oil มี 3 ทางคือ

* ทางเภสัชวิทยา (Pharmacological)

* ทางกายภาพ (Physiological)

* ทางจิตวิทยา (Psycological)

     ตัวอย่างเช่น การใช้น้ำมันหอมระเหยทา หรือนวดบนร่างกาย (Massage Treatment) หรือการสูดดมทางจมูก น้ำมันหอมระเหยจะซึมผ่านผิวหนังหรือเยื่อโพรงจมูก เข้าสู่กระแสเลือดและเกิดปฏิกิริยากับฮอร์โมน(Hormone), เอนไซม์( Enzyme) และอื่นๆในร่างกาย ทำให้มีผลต่อการทำงานของอวัยวะทั่วร่างกาย อย่างไรก็ตาม ผลของน้ำมันหอมระเหยต่อร่างกายในแต่ละชนิด จะมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะ ผลทางด้านจิตวิทยา ซึ่งมักจะได้จากการสูดดม ส่งผลทางอารมณ์ที่แตกต่างกันไป นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหย แต่ละชนิด ยังมีความสามารถ ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้เร็วช้าต่างกันด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

- Terpentine                                             20          mins

- Thyme, Eucalyptus                               20-40     mins

- Anise Bergamot, Lemon                       40-60     mins

- Citronella, Pine, Lavender                    60-80     mins

- Coriander Rue, Pepermint                  100-120   mins

     การใช้สมุนไพรในการเยียวยารักษาร่างกาย แยกออกได้เป็น  2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

*Phytotherapy        : ใช้สมุนไพรโดยรวม

*Aromatherapy      : ใช้เฉพาะกลิ่นหอม (Essential Oil)

     ตามความเป็นจริงแล้วมีการใช้ส่วนของ Phytotherapy มานาน โดยมากมักจะเห็นอยู่ในรูปของยาสมุนไพร เช่น Tincture ต่างๆ แต่ไม่มีใครทราบว่า ในยาสมุนไพรดังกล่าวนั้นมีส่วนผสมของ Essential Oil อยู่ด้วยไม่มากก็น้อย ในปัจจุบัน พบว่า ส่วนของ Aromatherapy นั้นก็มีความสำคัญมากในการใช้เป็นธรรมชาติบำบัด จึงได้มีการสกัดแยกเอา Essential Oil ออกมา และศึกษาคุณสมบัติของ Essential oil เป็นพิเศษ เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ ซึ่ง Essential oil ในพืชแต่ละชนิดจะมีปริมาณ และคุณสมบัติไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับ ชนิด และอายุของพืช

     ตัวอย่างฤทธิ์ที่สำคัญของ Essential oil ที่ใช้เป็น Aromatherapy เช่น Relaxant, Soothing, Pain relieving, Antispasmodic, Wound helling, Insomnia, Anti-inflammatory activity, Treat nervous condition, Dermal irritation

14 สิงหาคม 2562

ผู้ชม 315 ครั้ง